วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562

ปลากะพง ปลากะพงขาว ปลาทะเล

ข้อมูลจาก เว็บ https://pasusat.com/




ปลากะพง มีหลายชนิด อาทิ ปลากะพงขาว ปลากะพงดำ ปลากะพงแดง และปลากะพงลาย แต่ปลากะพงที่นิยมรับประทาน และเลี้ยงกันมากจะเป็นปลากระพงขาวเป็นหลัก
ปลากะพงขาว
ปลากะพงขาว เป็นปลากะพงที่พบมากในแหล่งน้ำกร่อย เป็นปลาที่มีราคาแพง นิยมนำประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ ปลากะพงทอด ต้มยำปลากะพง ปลากะพงราดพริก เป็นต้น
ปลากะพงขาวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเป็นปลาที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเป็นหลัก โดยนิยมเลี้ยงในกระชังตามแหล่งน้ำกร่อยบริเวณปากแม่น้ำ และชายทะเล ซึ่งมีแหล่งเพาะเลี้ยงหลักอยู่บริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่ปากแม่น้ำ และชายทะเลทางภาคใต้ แต่ทั้งนี้ บางพื้นที่มีการเลี้ยงในบ่อดินบริเวณพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับทะเล เนื่องจากการเลี้ยงปลากระพงขาวในกระชังบริเวณปากแม่น้ำมักประสบปัญหาขาดทุนจากสภาพน้ำในแม่น้ำเน่าเสียหรือมีคุณภาพน้ำไม่เหมาะสม ทำให้มีการเลี้ยงปลากะพงขาวในบ่อเพิ่มมากขึ้น
Giant Perch
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lates calcarifer ( Bloch )
ชื่อสามัญ : Giant Perch
ชื่อถิ่น : ปลากะพง ปลากะพงขาว และปลากะพงน้ำจืด
อนุกรมวิธาน
Phylum : Chorota
Sub-phylum : Vertebrata
Class : Pisces
Sub-class : Teleostomi
Order : Percomorphi
Family : Centropomidae
Genus : Lates
Species : Calcarifer
ลักษณะทั่วไป
ปลากะพงมีลักษณะรูปร่างแบน และยาว หัวมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับลำตัว และค่อยโค้งมนขึ้นตามบริเวณไหล่ และส่วนหลัง ส่วนปากกว้าง มีปากล่างยื่นยาวมากกว่าปากบน มีขอบปากบน และล่างมน ส่วนช่องปากมีลักษณะเฉียงลงด้านล่าง ภายในปากตามขากรรไกรบน และล่างมีฟันขนาดเล็ก จำนวนมาก ส่วนตาของปลากะพงมีขนาดปานกลาง ไม่มีเยื่อหุ้ม ถัดมาเป็นแผ่นแก้มปิดเหงือกขนาดใหญ่
เกล็ดของปลากะพงมีลักษณะค่อนข้างใหญ่ เกล็ดบริเวณสันหลังออกสีน้ำเงินหรือเขียวปนเทา และไล่เป็นสีน้ำเงินจนถึงส่วนกลางของลำตัว ส่วนต่ำสุดจากลางลำตัวจนถึงส่วนท้องมีเกล็ดเป็นสีขาว และมีเส้นข้างตัวโค้งไปตามแนวสันหลัง
ปลากะพงมีครีบหลัง ครีบก้น ครีบหาง ที่ออกสีเทาปนดำ โดยครีบหลังแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ครีบหลังส่วนแรกเป็นหนามแหลมขนาดใหญ่ 5-7 อัน โดยหนามแลมอันแรกมีขนาดสั้น ถัดมามีความยาวมากที่สุด และค่อยๆสั้นลงตามลำดับ โดยแต่ละอันมีแผ่นหนังเชื่อมติดกัน ถัดมาเป็นครีบหลังส่วนที่ 2 ที่แยกออกจากครีบส่วนแรกอย่างชัดเจน  เป็นครีบหลังอ่อนเชื่อมติดด้วยแผ่นหนัง
ส่วนครีบหู และครีบอกค่อนข้างยาว โดยครีบหูมีสีเหลืองใส ส่วนครีบอกมีสีขาว ส่วนครีบก้นมีสีเทาปนดำ มีก้านครีบแข็ง และแหลม 3 อัน ข้อหางสั้น และมีปลายหางเป็นแนวตรง
ปลากะพงขาวเป็นปลาที่ไม่มีอวัยวะเพศให้มองเห็นภายนอก มีขนาดที่พบทั่วไปประมาณ 5-10 กิโลกรัม ยาวประมาณ 20-40 เมตร โดยชนิดที่อาศัยในทะเลหรือตามแหล่งน้ำกร่อยจะมีเกล็ดส่วนบนเป็นสีฟ้าอมเขียว ด้านข้างลำตัว และส่วนท้องมีสีขาวเงิน ส่วนครีบหูมีสีเหลือง มีครีบหางครึ่งบนเป็นสีเหลืองส่วนครึ่งล่างเป็นสีดำ ส่วนชนิดที่อาศัยในแม่น้ำหรือน้ำจืดจะมีเกล็ดส่วนบนเป็นสีดำ ด้านข้าง และส่วนท้องมีสีขาวเงิน ส่วนครีบหางมีสีดำล้วน โดยปลากะพงที่พบในแหล่งน้ำเค็มหรือน้ำกร่อยมักจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบในแหล่งน้ำจืด
แหล่งอาศัย
ปลากะพงมีการแพร่กระจายในภูมิภาคเอเชีย พบได้ทั้งในแหล่งน้ำจืด เช่น ปลากะพงลาย และแหล่งน้ำกร่อย เช่น ปลากระพงขาว ในแถบเอเชียที่มีการพบปลากะพง ได้แก่ จีนตอนใต้ พม่า เวียดนาม มาเลเชีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น
ในประเทศไทยพบปลากะพงขาวมากในทุกจังหวัดที่ติดกับทะเล ทั้งในอ่าวไทย และอันดามัน โดยชุกชุมมากบริเวณปากแม่น้ำชายฝั่งทะเลน้ำกร่อย และตอนเหนือปากแม่น้ำที่เป็นแหล่งน้ำจืด
– บริเวณน้ำจืดที่พบ ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หรือแอ่งน้ำใกล้ชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลสามารถแพร่ถึงในช่วงฤดูฝน ทำให้มีสภาพเป็นน้ำจืดค่อนข้างกร่อยเล็กน้อย มีค่าความเค็มตั้งแต่ 1.0-20.0 ppm
– บริเวณน้ำกร่อยที่พบ ได้แก่ บริเวณแม่น้ำ ลำคลองที่ติดกับทะเลหรือทะเลสาบ มีการนุนหรือไหลเข้าของน้ำทะเลตามรอบน้ำขึ้นน้ำลง เป็นพื้นที่ที่มีค่าความเค็มสูงกว่าบริเวณแรก  มีค่าความเค็มระหว่าง 20-30 ppm
การดำรงชีพ และการสืบพันธุ์
ปลากะพงขาวจัดเป็นปลกินเนื้อที่กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกว่าทุกชนิดเป็นอาหาร เช่น ปลาขนาดเล็ก กุ้ง และปู และเป็นปลาที่กินพวกเดียวกันที่มีขนาดเล็กกว่าเป็นอาหารเช่นกัน แต่สามารถนำมาเลี้ยงให้กินอาหารที่ไม่มีชีวิตได้ เช่น อาหารเม็ดสำเร็จรูป รวมถึงเศษปลา หรือ ซากสัตว์ ทั้งนี้ ปลากะพงขาวในธรรมชาติมักอาศัย และหาอาหารเป็นฝูง ซึ่งปลาที่มีขนาดเล็กจะมีนิสัยดุกว่าปลาขนาดใหญ่ แต่จะหายไปเองเมื่อเติบโตขึ้น
การผสมพันธุ์ และวางไข่
ปลากะพงขาวที่เติบโตจนพร้อมเข้าสู่การผสมพันธุ์ได้จะมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร หรือหนักประมาณ 3.0 กิโลกรัม และมีอายุไม่น้อยกว่า 3.5 ปี โดยปลาเพศเมียที่พร้อมผสมพันธุ์มักมีขนาด และอายุมากกว่าปลาเพศผู้ที่พร้อมผสมพันธุ์
ฤดูผสมพันธุ์ของปลากะพงขาวจะเริ่มในช่วงกลางฤดูร้อน โดยพ่อแม่ปลาที่มีไข่ และน้ำเชื้อพร้อมผสมพันธุ์จะว่ายจากแหล่งน้ำจืดไปหาแหล่งน้ำกร่อยจบริเวณปากแม่น้ำหรือเขตติดต่อกับทะเลที่มีความเค็มปานกลาง หรือประมาณ 25-32 ppm เมื่อผสมพันธุ์ และวางไข่เสร็จก็จะอพยพกลับเข้ามายังเหนือปากแม่น้ำ
ในภาคใต้ฝั่งตะวันตก ปลากระพงขาวจะวางไข่ก่อนฤดูฝนเล็กน้อย ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน และในทางชายทะเลฝั่งอ่าวไทย ปลากระพงขาวจะวางไข่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม เพราะอิทธิพลของฤดูมรสุมที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่
การผสมพันธุ์จะมีอัตราส่วนแม่ปลา 1 ตัว/พ่อปลา 3-5 ตัว ใช้ช่วงการผสมพันธุ์ในขณะน้ำทะเลขึ้นเวลาประมาณ 19.00-22.00 น. ซึ่งจะอยู่ในช่วงกลางเดือน และปลายเดือน
ปลากะพงขาววางในแต่ละครั้งจำนวน 2-4 แสนฟอง ไข่ที่มีการผสมน้ำเชื้อแล้วจะลอยน้ำ มีขนาดประมาณ 0.8 มิลลิเมตร และไข่ที่ผสมแล้วจะฟักเป็นตัวประมาณ 16-18 ชั่วโมง หลังการผสม
ลูกปลากะพงขาวหลังจากการฟักจะมีความยาว 1.2 มิลลิเมตร ซึ่งจะลอยตัวตามกระแสน้ำเข้าไปอาศัยตามแอ่งน้ำหรือขอบฝั่งที่เป็นป่าชายเลนถัดจากทะเลเข้าไป
การเลี้ยงปลากะพงในกระชัง
รูปแบบกระชังปลากะพง
1. กระชังอยู่กับที่
กระชังอยู่กับที่เป็นกระชังที่ถูกผูกยึดกับเสาไว้ที่ปักกับพื้นดิน แต่ให้สามารถลอยขึ้นตามระดับน้ำได้ เสาอาจทำด้วยไม่ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หรือ เหล็ก
Giant Perch1
2. กระชังลอยน้ำ
กระชังลอยน้ำเป็นกระชังที่ทำขึ้นบนวัสดุที่ลอยเหนือน้ำ เช่น โป๊ะ ทุ่นลอยน้ำ หรือ แพ นิยมใช้บริเวณแหล่งน้ำที่มีความแตกต่างของความลึกระหว่างน้ำขึ้นน้ำลงตั้งแต่ 1 เมตร ขึ้นไป และน้ำขึ้นสูงสุดมากกว่า 2 เมตร ขึ้นไป ซึ่งตัวกระชังจะผูกติดหรือสร้างติดกับแพ หรือทุ่นลอย นิยมมากในบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ จังหวัดสตูล ตรัง กระบี่ ระนอง พังงา เป็นต้น มี 2 แบบย่อย คือ
– กระชังลอยแบบมีโครง เป็นกระชังที่มีโครงวัสดุยึดตัวกระชังให้ความแข็งแรง เช่น เหล็กหรือไม้ไผ่ มีโครงทั้งส่วนบนน้ำ และใต้น้ำ ตัวกระชังสามารถกางได้เต็มที่ กระชังไม่ลู่หรือพับตามแรงของกระแสน้ำ
– กระชังลอยแบบไม่มีโครง เป็นกระชังที่มีเฉพาะตัวกระชังผูกติดกับทุนหรือแพ ไม่มีโครงยึด กระชังแบบนี้สามารถลู่พับตามกระแสน้ำได้ง่าย ทำให้พื้นที่กระชังน้อยลง และการถ่ายเทอากาศไม่ดีพอ
ขนาดกระชังแบบลอยน้ำที่นิยมใช้กันมาก ได้แก่ ขนาด 3×3×2 เมตร 4×4×2 เมตร 5×5×2 เมตร และ 7×8×2 เมตร
การคัดขนาด และการปล่อย
การเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังจะต้องคัดปลาที่ใกล้เคียงกันปล่อยในกระชังเดียวกัน เพราะหากปลามีขนาดต่างกันจะทำให้ปลาที่มีขนาดใหญ่จะแย่งกินอาหารจากปลาเล็กหมดก่อน ทำให้ปลาโตไม่เท่ากัน
ลูกปลากะพงที่เริ่มปล่อยสามารถปล่อยได้ตั้งแต่ขนาด 1.5 เซนติเมตร ขึ้นไป อัตราการปล่อย 100-300 ตัว/ตารางเมตร ขึ้นอยู่กับขนาด และคุณภาพน้ำ ได้แก่
– ลูกปลากะพงขาวขนาด 1.5-2.0 เซนติเมตร อัตราปล่อย 500-750 ตัว/ตารางเมตร
– ลูกปลากะพงขาวขนาด 5.0-7.0 เซนติเมตร อัตราปล่อย 400-500 ตัว/ตารางเมตร
– ลูกปลากะพงขาวขนาด 10.0-15.0 เซนติเมตร อัตราปล่อย 200-250 ตัว/ตารางเมตร
– ลูกปลากะพงขาวที่เลี้ยงในกระชังจะเจริญเติบโตได้ขนาดตลาด (500-800 กรัม)
การคำนวณอัตราการปล่อย
จำนวนปลาที่ปล่อย (ตัว/ลบ.ม.) = น้ำหนักปลาที่จะจับ/ลบ.ม.
*************************    น้ำหนักเฉลี่ยของปลาที่ต้องการจับ
การปล่อยลูกปลากะพงขนาด 10-15 เซนติเมตร อัตรา 100 ตัว/ตารางเมตร จะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 6-7 เดือน
อาหารที่ใช้เลี้ยง ได้แก่ อาหารสำเร็จรูป ส่วนอาหารมีชีวิต ได้แก่ ปลาเบ็ด

ปลาสีกุนข้างเหลือง และปลาสีกุนบั้ง ปลาทะเล

ข้อมูลจาก เว็บ https://pasusat.com/


ปลาสีกุนข้างเหลือง และปลาสีกุนบั้ง เป็นปลาทะเลในกลุ่มของปลาสีกุนที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่สูงนัก เนื่องจากเป็นปลาที่ไม่ได้มุ่งจับเพื่อการค้าโดยเฉพาะ แต่เป็นปลาที่จับมาได้จากการจับปลาหรือสัตว์น้ำชนิดอื่น ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ปลาในกลุ่มปลาสีกุนเริ่มนิยมนำรับประทาน และจับเพื่อการค้ามากขึ้น และมีการเพาะเลี้ยงบ้าง สามารถจับได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน
กลุ่มของปลาสีกุน ได้แก่ ปลาสีกุนข้างเหลือง ปลาสีกุนบั้ง และปลาสีกุนตาโต
ปลาสีกุนข้างเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Selaroides leptolepis
ชื่อสามัญ : Yellow stripe trevally, Caranx
วงศ์ : Carangidae
ชื่อท้องถิ่น : ปลาสีกุนข้างเหลือง, ปลาสีกุนข้างลวด, กิมซัว
ลักษณะปลาสีกุนข้างเหลือง
ปลาสีกุนข้างเหลือง มีลักษณะลำตัวแบน และค่อนข้างเรียวยาว ลำตัวมีส่วนโค้งทางด้านหลัง และด้านท้องเท่ากัน มีตาโต ปากขนาดเล็ก คอดหางยาวมีลักษณะเด่นที่มีแถบสีเหลืองเป็นแนวยางจากเหนือส่วนตาถึงโคนหาง และมีจุดดำเหนือครีบหูบริเวณบริเวณขอบแก้มด้านบน รวมถึงมีเส้นข้างลำตัวโค้งตามแนวสันหลัง และเป็นเส้นตรงบริเวณตอนกลางของครีบหลังอันที่สอง
ส่วนครีบ มีครีบหูยาวเรียว และมีปลายครีบแหลม ครีบหลัง และครีบก้นค่อนข้างยาว ครีบหลังมี 2 อัน ครีบอันท้ายยาวติดกันถึงโคนหาง และครีบก้นยาวติดกันถึงโคนหางเช่นกัน ครีบทุกอันมีสีขาวใส
ปลาสีกุนข้างเหลืองที่พบ โดยทั่วไปมีขนาดยาวเฉลี่ย 14.6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 40 กรัม
ปลาสีกุนข้างเหลือง
ขอบคุณภาพจากกระดานสนทนา http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=638925&begin=50
การแพร่กระจาย
ปลาสีกุนข้างเหลือง พบได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทย ได้แก่ แถบชายฝั่งบริเวณจังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น ส่วนฝั่งอันดามัน ได้แก่ ระนอง พังงา กระบี่ เป็นต้น
ปลาสีกุนข้างเหลือง กินอาหารที่สำคัญ ได้แก่ ปลาขนาดเล็ก แพลงค์ตอนพืช แพลงค์ตอนสัตว์ กุ้ง และสัตว์ทะเลอื่นๆ ขนาดเล็ก
คุณค่าทางโภชนาการ
• ความชื้น 77.50%
• โปรตีน 15.05%
• ไขมัน 4.29%
• คาร์โบไฮเดรต 1.79%
• เถ้า 1.39%
• เกลือ 0.08%
ปลาสีกุนบั้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Atule mate
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Selaroides leptolepis
ชื่อสามัญ : One-finlet Scad
ชื่อท้องถิ่น :
– ปลาสีกุนบั้ง
– ปลาสีกุนกบ
– ปลาหางกิ่ว
– ปลาหางแข็ง
อนุกรมวิธาน
Class : Teleostomi (Ostrichthyes)
Order : Perciformes
Suborder : Percoidei
Family : Carangidae
Genus : Atule
Species : mate
ลักษณะปลาสีกุนบั้ง
ปลาสีกุนบั้ง มีลักษณะคล้ายปลาทู เป็นปลาที่มีลักษณะลำตัวแบนข้าง รูปทรงกระสวย มีจะงอยปากยาวมากกว่าตา และยาวถึงขอบหน้าของตา บริเวณตามีเยื่อหุ้มตาหนาใหญ่ล้อมรอบดวงตาเป็นวงกลม เหงือกมีซี่กรอง 25-26 ซี่ และมีจุดแต้มสีดำบริเวณท้ายกระดูกปิดเหงือก มีกระดูกสันลำตัวแข็งบริเวณแนวเส้นข้างตัว 43-44 อัน ครีบหลัง และครีบก้นมีลักษณะครีบแยกออกเป็น 2 ส่วน ครีบหลังส่วนท้าย และครีบก้นส่วนท้ายมีก้านครีบอ่อนติดกันต่อเนื่องยาวถึงโคนหาง ส่วนครีบหางมีลักษณะเป็นแฉกเว้าลึกเข้ากลางครีบ ครีบหลัง โดยครีบอก ครีบหลัง และครีบหางมีสีเหลือง ส่วนครีบท้อง และครีบก้นจะมีสีขาว
ปลาสีกุนบั้ง
การแพร่กระจาย
ปลาสีกุนบั้ง ชอบอาศัย และหากินบริเวณกลางนํ้า และผิวนํ้าบริเวณชายฝั่ง เป็นปลาที่อาศัย และออกหาอาหารรวมกันเป็นฝูง พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลอินโด-แปซิฟิค ส่วนในประเทศไทยพบกระจายอยู่ทั้งในชายฝั่งของฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน
ปลาสีกุนบั้ง มีช่วงการวางไข่ 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม และช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม (เพียรศิริ, 2526)
อาหาร
ปลาสีกุนบั้ง เป็นปลากินเนื้อสัตว์ กินอาหารหลายชนิด ได้แก่ ปลา กุ้ง และสัตว์นํ้าขนาดเล็ก
โรคพยาธิ
จากการศึกษาชนิดของปรสิตในปลาสีกุนบั้งบริเวณอ่าวไทย พบปรสิตภายนอกที่อาศัยอยู่บริเวณเหงือก แผ่นแก้ม และช่องปาก ได้แก่ ปรสิตตัวกลม ปรสิตเปลือกแข็ง ปรสิตตัวแบน ปรสิตตัวตืด ส่วนปรสิตภายในที่พบในอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ปรสิตตัวกลม ปรสิตหัวหนาม และปรสิตตัวตืด ทั้งนี้ ปริมาณปรสิตจะแปรผันโดยตรงกับขนาดของปลา (วิไลลักษณ์, 2532)
การประมง
ชาวประมงมีการใช้เครื่องมือในการจับปลาสีกุนบั้งที่สามารถจับได้มาก ได้แก่ อวนล้อม และอวนลาก
เอกสารอ้างอิง
2

ปลาเห็ดโคน ปลาทราย (Sand whiting) ปลาทะเลขนาดเล็ก

ข้อมูลจาก เว็บ https://pasusat.com/ปลาเห็ดโคน

ปลาเห็ดโคน (Sand whiting) เป็นปลาทะเลขนาดเล็กที่มีลำตัวเรียวยาว เนื้อมีสีขาว ไม่มีก้างแทรก และมีรสหวาน นิยมใช้ประกอบอาหารในหลายเมนู อาทิ ปลาเห็ดโคนทอดกระเทียม แกงส้มปลาเห็ดโคน และแกงป่าปลาเห็ดโคน เป็นต้น
การแพร่กระจาย
ปลาเห็ดโคน ที่พบแบ่งเป็น 3 สกุล 31 ชนิด และพบในทะเลไทยประมาณ 7 ชนิด โดยพบมากตามบริเวณชายฝั่ง ซึ่งพบได้ตั้งแต่แถบชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนประเทศไทยพบปลาเห็ดโคนได้ทั้งในฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย พบมากในแนวชายฝั่ง โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำขึ้นน้ำลงสันดอนทราย คลองต่างๆในแนวป่าชายเลน และพื้นที่ปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ซึ่งพื้นที่ที่พบมากส่วนใหญ่จะมีพื้นท้องน้ำเป็นดินทรายหรือโคลนปนทรายที่ระดับความลึก 0-20 เมตร (1), (2)
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sillago sihama
• ชื่อสามัญ : Sand whiting
• ชื่อท้องถิ่นไทย :
– ปลาเห็ดโคน
– ปลาช่อนทราย
ที่มา : (2)
ลักษณะทั่วไป
ปลาเห็ดโคน มีหัวเป็นรูปทรงกรวย ลำตัวเรียวยาว มีลักษณะเป็นทรงกระบอก โดยมีส่วนท้ายลำตัวค่อนข้างแบน เหงือกมีซี่กรอง 5-7 ซี่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนจ่างๆหรือสีเหลืองอมน้ำตาล และมีแถบสีน้ำเงินผาดผ่านจากเหงือกด้านบนมาถึงกลางลำตัว ส่วนบริเวณท้องมีสีขาว เกล็ดมีขนาดเล็กปกคลุมทั่วลำตัว ลำตัวมีครีบอกอยู่หลังช่องปิดเหงือก ครีบท้องอยู่ใต้ครีบอก ครีบหลังครีบแรกมีลักษณะใส และมีจุดสีดำขนาดเล็กประบริเวณครีบ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกมีก้านครีบแข็ง จำนวน 11 ก้าน ครีบหลังส่วนที่ 2 เป็นก้านครีบอ่อน จำนวน 20-22 ก้าน ส่วนครีบก้นยาวจรดถึงโคนหาง มีก้านครีบ 20-22 ก้าน ทั้งนี้ ครีบทุกครีบมีลักษณะใส ยกเว้นครีบท้องที่มีสีเหลืองใส และเรียวยาว ทั้งนี้ ขนาดความยาวทั่วไปที่จับได้จะประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 25-35 กรัม/ตัว ที่อายุประมาณ 9-12 เดือน
%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%99
อาหาร และการกินอาหาร
ปลาเห็ดโคนมีอาหารสำคัญเป็นปลาหรือลูกปลาขนาดเล็กชนิดต่างๆ รวมถึงกุ้ง เคย และปูขนาดเล็ก ซึ่งมีนิสัยออกหาอาหารตามพื้นท้องน้ำบริเวณที่เป็นทรายหรือโคลนปนทราย โดยใช้ปากขุดคุ้ยอาหาร
การผสมพันธุ์ และวางไข่
ปลาเห็นโคนมีอายุเข้าวัยเจริญพันธุ์ที่อายุประมาณ 9 เดือน หรือมีความยาวลำตัวตั้งแต่ 11 เซนติเมตร ขึ้นไป แต่ส่วนมากจะเจริญพันธุ์ที่ความยาวลำตัวประมาณ 12-12.6 เซนติเมตร ตัวเมียสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่จะวางไข่มากที่สุดในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม โดยจะว่ายน้ำออกจากฝั่งเข้าสู่ทะเลที่มีน้ำเค็มกว่าเพื่อการวางไข่ (3)
ประโยชน์ปลาเห็ดโคน
1. ปลาเห็ดโคนมีลำตัวเรียวยาว เนื้อมีสีขาว ไม่มีก้างแทรก มีรสหวาน นิยมใช้ทำแกงส้ม แกงป่า และทอดกระเทียม เป็นต้น
2. ปลาเห็ดโคน นำมาตากแดด 5-10 วัน ใช้สำหรับทอดกรอบ
3. ปลาเห็ดโคนใช้เลี้ยงเป็นปลาสวยงามในตู้ปลาร่วมกับปลาทะเลชนิดอื่น
%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%99
%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b8%87%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b9%87%e0%b8%94%e0%b9%82%e0%b8%84%e0%b8%99
ขอบคุณภาพจาก SiamFishing.com
เอกสารอ้างอิง
(1) จารุณี เชี่ยววารีสัจจะ, 2554, ชีววิทยาประชากรปลาทรายแดง ปลาจวด-
และปลาเห็ดโคนบริเวณหมู่เกาะบุโหลน จังหวัดสตูล, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
(2) ไพโรจน์ สิริมนตาภรณ์ และอังสุนีย์ ชุณหปราณ, 2538, การศึกษาชนิดปลาเห็ดโคน-
ในภาคใต้ตอนล่างของไทย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
(3) อังสุนีย์ ชุณหปราณ, 2542, อายุ การเจริญเติบโต การแพร่กระจายขนาด-
ขนาดเจริญพันธุ์ และฤดูกาลวางไข่ของปลาเห็ดโคน-
Sillago sihama (Forsskal) ในทะเลสาบสงขลา และบริเวณชายฝั่ง. สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง.

ปลาจวด (Drum fish) ปลาทะเล

ข้อมูลจาก เว็บ https://pasusat.com/ปลาจวด

ปลาจวด (Drum fish) เป็นปลาทะเลที่มีหลายชนิด เป็นปลาขนาดเล็กถึงใหญ่ ซึ่งมีราคาแพงตั้งแต่ 150-500 บาท/กิโลกรัม หรืออาจมากกว่า ขึ้นอยู่กับขนาด และสายพันธุ์ นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะเมนูนึ่ง ทอด และต้มยำ รวมถึงแปรรูปเป็นปลาตากแห้ง
อนุกรมวิธาน
Phylum : Vertebrata
Class : Teleostomei
Order : Percoidei
Family : Sciaenidae
Genus : Pennahia
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pennahia anea
• ชื่อสามัญ : Drum fish หรือ Croaker fish
• ชื่อท้องถิ่นไทย : ปลาจวด
ลักษณะทั่วไป
ปลาจวด มีรูปร่างยาวรีหรือรูปไข่ ลำตัวมีลักษณะแบนข้าง บริเวณจะงอยปากมีรู 4 รู และบริเวณใต้คางมีรู 5 รู โดยมีจวดบางชนิดมีหนวดใต้คาง 1 เส้น ส่วนตา และรูจมูกมีอย่างละ 2 ข้าง และอยู่ใกล้กันมาก ส่วนขากรรไกรอาจเสมอหรือมีขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่า ขอบกระดูกแก้มอันแรกเป็นหยัก และที่แผ่นแก้มมีหนามแบนๆ 2 อัน ส่วนฟันในปากมีลักษณะเป็นซี่เล็กๆขึ้นถี่เหงือกมีซี่เหงือก 4 อัน เกล็ดเป็นแบบ cycloid c ปกคลุมทั่วลำตัวไปจนถึงครีบหลัง และครีบก้น มีเส้นข้างลำตัว 1 เส้น เริ่มตั้งแต่หลังเหงือกยาวไปจนถึงโคนหาง พื้นสีลำตัวส่วนบนมีสีน้ำตาลหรือสีเทา ส่วนพื้นสีลำตัวส่วนล่างมีสีเงิน
%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%94
ปลาจวดมีฟันขึ้นทั้งขากรรไกรบน และขากรรไกรล่าง โดยฟันขากรรไกรล่างมักมีขนาดเล็กกว่าฟันขากรรไกรบน โดยปลาจวดในแถบเอเชีย รวมถึงประเทศไทยจะมีฟันเป็นแบบกรวย ซึ่งทั้งขากรรไกรบน และล่างจะมีทั้งฟันขนาดเล็ก และขนาดใหญ่สลับกันไป
เหงือกปลาจวดแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. แกนเหงือก (gill arch) ประกอบด้วยซี่เหงือก (gill filament) ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายกับที่มีอยู่ในน้ำทะเลด้านนอก
2. ซี่กรองเหงือก (gill raker) มีลักษณะเป็นแท่งขนาดเล็กเรียงชิดกัน อยู่ด้านตรงกันข้ามกับซี่เหงือก
3. ฟันขนาดเล็กละเอียด (epithelialdenticles) ซึ่งติดอยู่บนพื้นผิวของซี่เหงือก ทำหน้าที่คอยดักจับอาหาร
ครีบปลาจวด ประกอบด้วยครีบหลังมี 2 ช่วง ช่วงแรกเป็นก้านครีบแข็ง ซึ่งมีบานครีบสั้นกว่าฐานครีบช่วงที่ 2 ส่วนช่วงที่ 2 เป็นก้านครีบอ่อน ครีบก้นยาว 1 ใน 4 ของครีบหลัง ซึ่งเป็นหนามแข็ง 2 อัน อันแรกมีขนาดเล็กมาก ส่วนอันที่ 2 มีขนาดใหญ่ ครีบอกมีลักษณะกลม ส่วนครีบหางเว้าลึก
ลักษณะเด่นของปลาจวดอีกอย่าง คือ สามารถทำเสียงร้องได้ เพราะปลากระจวดมีกระเพาะลมขนาดใหญ่ และแข็งแรง สามารถพองหรือหดได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดเสียงขึ้นได้ ซึ่งมีประโยชน์ในการสื่อสารเพื่อการผสมพันธุ์
ยกตัวอย่างปลาจวดที่พบในรัฐ Maryland สหรัฐอเมริกา จะส่งเสียงร้องมากในช่วงฤดูผสมพันธุ์ คือ เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคม-มีนาคม ของปีถัดไป โดยเริ่มส่งเสียงร้องตั้งแต่ช่วงเย็นไปเรื่อยจนถึงเช้าตรู่ และจะส่งเสียงร้องดังที่สุดในช่วงก่อนถึงเที่ยงคืน แล้วค่อยๆลดลงอย่างรวดเร็วจนหยุดส่งเสียงในก่อนรุ่งสาง (1)
%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%941
อาหารปลาจวด
ปลาจวด เป็นปลาที่หากินบริเวณพื้นท้องน้ำ มีอาหารที่สำคัญ ได้แก่ กุ้ง ปู และปลาขนาดเล็ก เป็นต้น
การแพร่กระจาย
ปลาจวด พบแพร่กระจายทั่วไปตามชายฝั่งทะเลในแถบร้อน ตั้งแต่ประเทศอินเดียจนถึงประเทศหรือหมู่เกาะในฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนประเทศไทยพบทั่วไปตามชายฝั่งทั้งในทะเลอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย
ปลาจวดในประเทศไทย
ปลาในวงศ์ปลาจวดที่พบในไทยจากรายงานการรวบจากเอกสารต่างๆของ ยนภัส มหาสวัสดิ์ พบทั้งหมด 14 สกุล จำนวน 35 ชนิด ได้แก่ (1)
1. Aspericorvina jubata (จวด)
2. Boesemania microlepis (ม้า, จวดหางกิ่ว)
3. Chryssochir aureus (จวดเขี้ยว)
4. Dendrophysa russelli (จวดหน้าสั้น)
5. Johnius belengeri (จวด)
6. Johnius carutta (จวด)
7. Johnius dussumieri (จวดหน้ามอม)
8. Johnius melanobrachium (จวด)
9. Johnius osseus (จวด)
10. Johnius trachycephalus (ตรวด, จวดขาว)
11. Johnius (Johnieops) vogleri (จวด)
12. Johnius axillaris (จวด)
13. Johnius bengalerii (จวด)
14. Johnius cujus (จวด)
16. Johnius novaehallandae (จวด)
17. Otolithes ruber (จวดเขี้ยว)
18. Otolithes cuvieri (จวด)
19. Otolithoides (Otolithes) brunneus (แก้ว, จวดลาก)
20. Otolithoides (Otolithes) lateoides (จวด)
21. Otolithoides (Otolithes) maculatus (จวด)
22. Otolithoides (Otolithes) siamensis (จวด)
23. Panna microdon (จวดคอม้า,จวดยาว)
24. Pamna peramata (จวด)
25. Pennahia anea (จวดหางพัด,จวดครีบเทา)
26. Pseudosciaena axillaris (จวด)
27. Pseudosciaena (Johnius) (จวด)
28. Pseudosciaena birtwistlei (จวด)
29. Pseudosciaena bleekeri (จวด)
30. Pseudosciaena microlepis (จวด)
31. Pseudosciaena plagiostoma (จวด)
32. Pseudosciaena sina (จวด)
33. Nibea soldado (จวดเทา)
34. Pennahia macrophthalmus (จวดตาโต)
35. Sciaena macroptera (จวด)
ประโยชน์ปลาจวด
1. ปลาจวด มีลำตัวเรียวยาว เนื้อมีสีขาว ไม่มีก้างแทรก เนื้อมีรสหวาน และมัน นิยมทำแกง นึ่ง และทอด
2. ปลาจวด ใช้ทำเป็นปลาตากแห้งสำหรับใช้ทอดกรอบ
%e0%b8%9b%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%88%e0%b8%a7%e0%b8%94%e0%b8%97%e0%b8%ad%e0%b8%94
ขอบคุณภาพจาก Pantip.com/, SiamFishing.com

เอกสารอ้างอิง
(1) ยนภัส มหาสวัสดิ์, 2553, นิเวศวิทยาการกินอาหารของปลาจวด (วงศ์ Sciaenidae)-
ในอ่าวปากพนังจังหวัดนครศรีธรรมราช, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562

เรือท่อ PVC มีไว้ใช้ตอนน้ำท่วมครับ งบประมาณ จะถูกหรือแพง อยู่ที่การนำวัสดุใหม่หรือเก่ามาใช้นะครับ



คลิปดี ๆ  จากช่อง Ko Channel
 
เป็นตัวอย่างการต่อเรือใช้เองด้วยการนำเอา ท่อ PVC ขนาดใหญ่  มาปิดหัว  ปิดท้าย เพื่อให้เป็นสูญญากาศ  สามารถพยุงให้ลอยน้ำได้ครับ  

เบื้องต้นถ้าเราลองคำนวณจากท่อ หากเป็นท่อใหม่ ซื้อจากร้านวัสดุก่อสร้าง 

ท่อ PVC ขนาด  5 นิ้ว  ราคาจะอยู่ที่ เส้นละ  500-800 บาท   ความยาว 3 เมตร / เส้น 

ฝาปิดท่อ ประมาณ 120-150 บาท / ชิ้น  ใช้ 4 ชิ้น 

งบประมาณคร่าว ๆ   1,400 บาท  อุปกรณ์ อื่น ๆ  อีกเล็กน้อย  

ไม่ได้นำคลิปมา เพื่อบอกว่า ใช้งบประมาณ มากหรือน้อยนะครับ แต่ อยากให้ดูเป็นแนวทาง 

หากเราหาซื้อ วัสดุ ท่อ PVC จากร้านขายของเก่า มือ 2  ต้นทุนก็จะประหยัดลงไปได้อีกมากครับ  

อีกอย่าง ท่อ PVC มีหลายชั้น หลายความหนาให้เลือกใช้ครับ  ต้องศึกษาให้ดี ก่อน

การทำชิ้นงาน การทำสิ่งประดิษฐ์ มีการใช้งบประมาณ และต้นทุนทั้งนั้น  

แต่จะใช้มาก หรือ น้อย อยู่ที่การเสาะ แสวงหาวัสดุที่มีต้นทุนต่ำได้หรือไม่  หากหาได้ ก็ จะปนะหยัดได้อย่างมากครับ  





คายัคแบบเป่าลม เผื่อใครสนใจครับ ผมเองก็ สนใจแต่ เราต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า และ อายุการใช้งาน ราคา





Decathlon ประเทศไทย ไม่มีสีน้ำเงินแบบนี้ครับ สวยดี   

ของไทยจะมีจำหน่ายแค่สี เขียว  เหลือ และ ส้ม  

ปลากะพงปานข้างลาย ปลาข้างปาน ปลาทะเลไทย

ปลากะพงปานข้างลาย

กะพงปานข้างลาย 

ชื่อ- กะพงปานข้างลาย

ชื่อวิทยาศาสตร์- RUSSELL’S SNAPPER Lutjanus russelli

ลักษณะทั่วไป เป็นปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ อยู่ในวงศ์เดียวกันกับปลากะพงแดง เท่าที่สำรวจพบในบ้านเราทั้งหมด 25 ชนิด ปลากะพงปานข้างลายมีลำตัวยาว ด้านข้างแบน หัวค่อนข้างโต ปากแหลมนัยน์ตาโต ปากกว้าง มีฟันแหลมคมทั้งขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังมีฐานยาว ครีบหางมีขนาดใหญ่และปลายเว้าเล็กน้อย สีของลำตัวเป็นสีแดงปนน้ำตาลหรือสีขาวเงิน มีเส้นสีแดงปนน้ำตาลจำนวน 8 เส้น พาดผ่านและโค้งไปตามแนวลำตัว บริเวณโคนหางมีปานดำขนาดสะดุดตาอยู่ข้างละหนึ่งแห่ง ถิ่นอาศัย พบทั่วไปตามเกาะ กองหินปะการัง บริเวณชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย อาหาร กินลูกปลา ลูกกุ้ง และสัตว์น้ำขนาดเล็ก 

ขนาด ความยาวประมาณ 16 – 42 ซม. ประโยชน์ เนื้อมีรสอร่อย นับเป็นอาหารที่ขึ้นหน้าขึ้นตาอย่างแพร่หลาย